ค้นหาบล็อกนี้

21/8/53

สัตว์ในป่าชายเลน

สัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัวและสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ


หนอนริบบิ้น


ลำตัวแบนเรียวยาวคล้ายคลึงกับหนอนตัวแบน ร่างกายไม่มีปล้อง มีท่อทางเดินอาหารครบจากปากสู่ทวารหนัก และมีงวงที่ยืดหดได้ทางด้านหน้า ลำตัวสีแดงเพราะมีระบบหมุนเวียนโลหิตฝังตัวอาศัยอยู่ในดินโคลนบริเวณป่าชายเลน



แม่เพรียง

หนอนปล้องที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนมีระยางค์เป็นคู่ช่วยในการวายน้ำ ในช่วงฤดูหนาวที่น้ำทะเลขึ้นสูง แม่เพรียงจะว่ายน้ำออกมาที่ผิวทะเลเพื่อผสมพันธุ์โดยตัวผู้และตัวเมียปล่อยเซลล์สืบพันธุ์จำนวนมากออกไปผสมกันในน้ำทะเลได้ตัวอ่อนที่ดำรงชีวิตเป็นแพลงค์ตอนชั่วคราว ส่วนพ่อแม่พันธุ์มักถูกปลาทะเลจับกินเป็นอาหาร



ปูแสม หรือปูเค็ม

กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปกคลุมด้วยขนสั้นก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงสีบานเย็นอมม่วงขุดรูอาศัยอยู่ตามพื้นป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน กินเศษอินทรีย์และใบไม้ที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปูชนิดนี้เองที่ถูกจับนำมาดองเป็นปูเค็ม



กุ้งเคย

ครัสเตเชียนขนาดเล็กรูปร่างคล้ายกุ้งแต่ดำรงชีวิตอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงคลานตามพื้นอย่างกุ้งทั่วไป ขนาดยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เปลือกบางและนิ่ม อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามชายทะเลและลำคลองบริเวณป่าชายเลน



ปลาตีน

ปลาที่ปรับตัวทางโครงสร้างและสรีระหลายอย่างจนสามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานาน ปลาตีนมีอยู่หลายชนิดและขนาดแตกต่างกัน หัวขนาดใหญ่ ตาโตลำตัวเรียวเล็กลงไปทางหาง ครีบอกแผ่ขยายใหญ่ใช้คลานขณะอยู่บนบกได้ดีปลาตีนกินกุ้ง ปู และหนอนตามหาดโคลนเป็นอาหาร

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.techno.bopp.go.th/virtual_trip/contents8.php

20/8/53

พืชในป่าชายเลน

พืชในป่าชายเลน
           ป่าชายเลนประกอบด้วยพืชหลายชนิด ได้แก่ ไม้ยืนต้น เถาวัลย์และสาหร่าย พันธ์ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ไผ่ผลัดใบ พืชที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนเป็นพวกที่มีความทนทานต่อสภาพความเค็มได้ดี

            1.พันธุ์ไม้ในป่าชายเลน พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนในประเทศไทยมีถึง 7 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลซึ่งเรียกตามภาษาพฤกษสาสตร์ว่า Rhizophoraceae ได้แก่ จำพวกไม้โกงกาง ไม้โปรง ไม้ถั่ว เป็นต้น

            2.สาหร่ายในป่าชายเลน สาหร่ายบริเวณป่าชายเลนสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 พวก คือจำพวกแรกเป็นสาหร่ายที่อาศัยอยู่ตามต้นหรือรากของต้นโกงกางหรือแสมและอีกจำพวกหนึ่งคือสาหร่ายที่ขึ้น อยู่ตามพื้นโคลนปนทราย และจะฝังส่วนโคนอยู่ในโคลน และจะโผล่เฉพาะบางส่วนขึ้นมาเหนือผิวโคลน หรืออาจขึ้นเกาะอยู่ตามก้อนหินก้อนกรวดเปลือกหอยหรือเสาใบไม้บริเวณป่าชายเลนบางชนิดก็จะขึ้นอยู่ตาม ผิวหน้าของโคลน


 
โกงกางใบเล็ก

           พันธุ์ไม้สำคัญที่พบมากในป่าชายเลน ลักษณะคล้ายคลึงกับโกงกางใบใหญ่แต่ใบมีขนาดเล็กกว่า ตรงโคนต้นแตกรากค้ำจุนมาก ฝักมีขนาดเล็กยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นจะปักดิน และงอกขึ้นมา เป็นต้นโกงกางทั้งสองชนิด มักขึ้นอยู่ริมชายฝั่งของเขตแนวป่าด้านนอก


โกงกางใบใหญ่

พันธุ์ไม้ที่มีลักษณะต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม บริเวณเรือนยอด รากค้ำจุนแตกออกตรงโคนต้น ใบขนาดใหญ่เป็นมัน ผลสีน้ำตาล มีการงอกของเมล็ดตั้งแต่อยู่บนต้นยื่นลงมาเป็นท่อนยาวสีเขียว ขนาดยาว
ประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นโคลนจะปักลงไปในดิน และเจริญงอกขึ้นมาเป็นต้น



ลำพู

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่มักพบขึ้นปะปนกับแสมบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นแหล่ง น้ำกร่อยมีรากอากาศขนาดใหญ่ที่แทงขึ้นมาจาก พื้นดินเห็นได้ชัดเจน บนต้นลำพูนี่เองที่หิ่งห้อยชอบอาศัยอยู่และส่งแสงกระพริบในเวลากลางคืน



จาก

พืชจำพวกปาล์มที่พบขึ้นอยู่หนาแน่นบริเวณริมฝั่งคลองของป่าชายเลน หรือบริเวณน้ำกร่อยชาวประมงนิยมนำใบจากไปมุงหลังคาบ้านผลลักษณะเป็นทะลาย แทงขึ้นมาจากกอ



แสมขาว

พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบมากอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะต้นสูงใหญ่ตรงโคนต้น มีรากอากาศโผล่พ้นพื้นดันขึ้นมาเป็นเส้นขนาดยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง กลิ่นหอม ผลมีรูปร่างกลมรีคล้ายผลมะม่วง ขนาดเล็ก เมื่อหล่นลงสู่พื้นจึงงอกขึ้นเป็นต้นใหม่หรือถูกพัดพาไปกับน้ำทะเล
 
 
 
ประสัก หรือพังกาหัวสุม


พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนที่ขึ้นแทรกอยู่ในเขตป่าโกงกาง ใบมีผิวเรียบมัน ดอกประสักมีกลีบเลี้ยงสีแดง ผลมีการงอกของเมล็ดตั้งแต่ยังอยู่บนต้น ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ 12 เซนติเมตรเมื่อร่วงหล่นปักลงบนพื้นดิน โคลนจะงอกรากและเจริญเป็นต้น

ข้อมูลเพิ่งเติม : http://chailan2008.ueuo.com/lan05-1.html

ป่าชายเลนคือ ?

ความหมาย
       ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "mangrove forest" หรือ "intertidal forest" คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล "ป่าชายเลน" หรือ " mangrove forest" เป็นสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว ซึ่งเป็น บริเวณที่มีระดับน้ำทะเลท่วมถึงในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด หรือหมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี(evergreen species)ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นปะปนอยู่บ้าง

ถิ่นที่อยู่
        ป่าชายเลนพบทั่วไปตามพื้นที่ชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบโซนร้อน (tropical region) ส่วนบริเวณเขตเหนือหรือใต้โซนร้อน (sub-tropical region) จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างเป็นส่วนน้อยเนื่องจากสภาวะภูมิอากาศไม่เหมาะสมนัก ป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดมักจะพบในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น

การกระจายของพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทย
         ป่าชายเลนในประเทศไทยซึ่งขึ้นอยู่กระจัดกระจายตามชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 23 จังหวัดจากข้อมูลการสำรวจโดยการแปลจากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5(TM)มาตราส่วน 1:50,000 เมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยธงชัย จารุพพัฒน์ พบว่าประเทศไทยมีป่าชายเลนรวมทั้งสิ้น 1,047,390 ไร่ จำแนกเป็นภาคตะวันออก 79,112.5 ไร่ ภาคกลาง 34,056.75 ไร่ และภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย 103,570.5 ไร่ ฝั่งอันดามัน 830,650.25 ไร่จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายเลนมากที่สุดของประเทศไทยได้แก่จังหวัดพังงา 190,265.25 ไร่ รองลงมาได้แก่ สตูล 183,402.00 ไร่และกระบี่ 176,709.25 ไร่

Welcome to Klongkhone Club

ความเป็นมาของคลองโคน   
          สมัยก่อนพื้นที่ป่าชายเลนบ้านคลองโคนถูกบุกรุกทำลาย จนหมดสภาพพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อนำพื้นที่มาทำนากุ้ง และทำประโยชน์อื่นๆจนกระทั่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลใกล้ชายฝั่งได้สูญเสียไป อาหารประเภทสัตว์น้ำทางทะเลก็สูญหายไป อาชีพทางการประมงก็ไม่สามารถเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอดได้ จึงทำให้ประชากรในพื้นที่ ที่อยู่ในวัยทำงาน ต้องแยกย้ายไปประกอบอาชีพที่อื่น ต่อมาในปี พ.ศ.2534 ชาวบ้านในพื้นที่โดยการนำของผู้ใหญ่ชงค์ จึงได้มีความคิด ปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูสภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลนให้กลับมา เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนแต่กาลก่อนแรกๆทดลองปลูกป่าชายเลนในช่วง 3 ปีแรก ก็ไม่ประสบความสำเร็จเจอกับปัญหาสารพัด ทั้งการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่จะปลูก การอยู่รอดหลังปลูกและความไม่ร่วมมือของบางคนต่อมาก็มีหน่วยงานรัฐเริ่มเห็นความสำคัญโดยเฉพาะเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯที่ทรงเห็นความสำคัญของการปลูกป่าชายเลนที่นี่ จึงได้เสด็จมาทรงปลูกป่าชายเลนที่นี่ด้วยพระองค์เองในปี พ.ศ. 2540 , 2541, 2542 , 2545 และ 2547
        จนปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนของบ้านคลองโคนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เกิดมีสัตว์น้ำชายฝั่งมากมาย ทำให้เกิดมีอาชีพทางการประมงของคนในพื้นที่ที่สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างพอเพียง แรงงานที่ต้องย้ายไปทำงานที่อื่นก็กลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิด ครอบครัวกลับมาอยู่พร้อมหน้ากัน ชาวบ้านในพื้นที่มีอาชีพหลากหลายที่จะเลี้ยงตัวเองบางส่วนก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพตามความถนัด เช่นกลุ่มชาวเรือกลุ่มทำอาหาร กลุ่มกระเตง(บ้านพักกลางทะเลที่เฝ้าฟาร์มหอย) เป็นต้นเมื่อมีการทำกิจกรรมเป็นกิจลักษณะขึ้นมาก็เกิดมีการจัดเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นมาที่นี่เมื่อมีการมาเที่ยวส่วนใหญ่มักต้องการเที่ยว และค้างคืนบนกระเตงกลางทะเล ทางผู้ใหญ่ชงค์จึงได้ดำเนินการให้มีโฮมสเตย์กลางทะเลขึ้นมาในชื่อว่าผู้ใหญ่ชงค์ โฮมสเตย์ เพื่อตอบสนองกลุ่มนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบที่ต้องการมาสัมผัสกับกิจกรรมดีๆซึ่งมีมากมายของที่นี่และที่สำคัญเราเน้นความเป็นธรรมชาติ เที่ยวแบบมีประโยชน์ได้ทั้งความสนุกสาระความรู้และความรู้สึกดีๆที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติให้ยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่


ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.klongkhonemangrove.com/